วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Digital week 9 (13/10/2015)

1.) สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

- Microcontroller คืออะไร??? 

     Microcontroller เปรียบเสมือน ตัวประมวลผลกลางระหว่าง Sensors และ Actuators เพื่อตัดสินใจการทำงานว่าจะให้ไปทำอะไร ทิศทางใด หรืออะไรทำงาน
โครงสร้างโดยทั่วไป ของไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
  1. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู
  2. หน่วยความจำสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หน่วยความจำที่มีไว้สำหรับเก็บโปรแกรมหลัก (Program Memory) เปรียบเสมือนฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คือข้อมูลใดๆ ที่ถูกเก็บไว้ในนี้จะไม่สูญหายไปแม้ไม่มีไฟเลี้ยง อีกส่วนหนึ่งคือหน่วยความจำข้อมูล (Data Memory) ใช้เป็นเหมือนกกระดาษทดในการคำนวณของซีพียู และเป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวขณะทำงาน สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์สมัยใหม่ หน่วยความจำข้อมูลจะมีทั้งที่เป็นหน่วยความจำแรม ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และเป็นอีอีพรอมซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม
  3. ส่วนติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอก หรือพอร์ตมี 2 ลักษณะคือ พอร์ตอินพุตและพอร์ตส่งสัญญาณหรือพอร์ตเอาต์พุตส่วนนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก ใช้ร่วมกันระหว่างพอร์ตอินพุต เพื่อรับสัญญาณ อาจจะด้วยการกดสวิตช์ เพื่อนำไปประมวลผลและส่งไปพอร์ตเอาต์พุต เพื่อแสดงผลเช่น การติดสว่างของหลอดไฟ
  4. ช่องทางเดินของสัญญาณ หรือบัส (BUS) คือเส้นทางการแลกเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลระหว่าง ซีพียู หน่วยความจำและพอร์ต เป็นลักษณะของสายสัญญาณ จำนวนมากอยู่ภายในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยแบ่งเป็นบัสข้อมูล, บัสแอดเดรสและบัสควบคุ
  5. วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากการทำงานที่เกิดขึ้นในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ จะขึ้นอยู่กับการกำหนดจังหวะ หากสัญญาณนาฬิกามีความถี่สูง จังหวะการทำงานก็จะสามารถทำได้ถี่ขึ้นส่งผลให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น มีความเร็วในการประมวลผลสูงตามไปด้วย

ซึ่งบอร์ดที่เราจะใช้นั่นคือ...



LAB 1  : ปรับค่าแรงดันขาเข้าตั้งแต่ 0-3.3 V และทำการแสดงผลผ่านหลอดไฟLED 8 ดวง (รูปแบบการต่อแบบ A2D)


LAB 2 : ปรับค่าแรงดันขาเข้าตั้งแต่ 0-3.3 V และทำการแสดงผลผ่าน 7-Segment จำนวน 2 ตัว (ใช้คำสั่ง BusOut จะสามารถแปลงจากเลขฐาน2 กลายเป็นเลขฐาน16 และสามารถแสดงบน 7-segment ได้เลย)



LAB 0 : ต่อ Input 3 ตัว และทำการแสดงผลผ่านหลอดไฟ LED 8 ดวง โดยสามารถสลับรูปแบบการทำงานได้ 3 รูปแบบ(ใช้รูปแบบการต่อ GPIO)


Digital week 7 (08/09/2015)

1.) สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

- การออกแบบ Sequential Logic 

  1. คิดว่าการทำงานนั้นต้องการให้ออกมาเป็นแบบไหน
  2. ทำการคิด State diagram โดย ทฤษฎีของ Moore and Mealy Machines
  3. สร้าง State Table จากข้างต้นที่ได้คิดไว้
  4. เลือกใช้ Flip-Flop ว่าจะใช้ประเภทใด
  5. ใช้ ทฤษฏี Boolean หาสมการและลดรูป ในการต่อ Flip-Flop
  6. ใช้ ทฤษฎี Boolean หาสมการและลดรูป ในการเชื่อม Output
  7. เมื่อได้สมการมาแล้ว นำมาสร้างเป็นวงจร Logic Gate สำหรับต่อวงจรจริงๆ
ผมขออนุญาติใส่รูปจาก Mini project ที่กลุ่มผมได้ทำนะครับ






2.) ปัญหาที่ได้ - ไม่มีครับ ส่วนตัวผมชอบอะไรที่ได้ลองทำได้ลงมือทำจริงๆ ชอบมากครับบ จะได้ทราบว่าตนไม่รู้อะไร และถามอาจารย์ได้เลย ขอบคุณครับ